รายละเอียดโครงการ

หลักการและเหตุผล


           “คนจะอยู่ได้อย่างไรถ้าขาดน้ำ ผู้ประกอบการจะอยู่ได้อย่างไรถ้าขาดเงิน” 


คำกล่าวนี้ย่อมสามารถสะท้อนความสัมพันธ์อันสำคัญยิ่งระหว่างภาคองค์กรธุรกิจ และการดำรงไว้ซึ่งสภาพคล่องของกิจการได้เป็นอย่างดี

เมื่อการเงินเป็นเรื่องที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ บุคลากรในภาคเศรษฐกิจการเงินจึงมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเช่นกัน แต่ด้วยความที่บุคลากรในภาคเศรษฐกิจดังกล่าวที่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องทางการเงิน แนวทางปฏิบัติรวมทั้งกฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องยังมีจำนวนน้อย ทำให้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบันอยู่เสมอ

ทั้งนี้ เห็นได้จากกรณีของประเทศไทยในอดีตที่ผ่านวิกฤติเศรษฐกิจต่าง ๆ มา ทั้งวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในปี พ.ศ.๒๕๔๐ หรือที่เรียกกันว่า “วิกฤติต้มยำกุ้ง” และ วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เช่น วิกฤติสินเชื่อซับไพร์มในประเทศสหรัฐอเมริกา หรือที่เรียกกันว่า “วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์” ซึ่งวิกฤติเศรษฐกิจแต่ละครั้งล้วนแต่มีสาเหตุจากภาคเศรษฐกิจการเงินทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ทำให้ทุกภาคส่วนในภาคเศรษฐกิจนี้ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแล ตรวจสอบ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือภาคเอกชน เช่น สถาบันการเงิน บริษัทที่ปรึกษากฎหมาย และองค์กรธุรกิจอื่น ๆ ได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางของภาคเศรษฐกิจการเงินที่กำลังจะเกิดขึ้นควบคู่กับความรู้และความเข้าใจในแนวทางปฏิบัติรวมทั้งกฎหมาย กฎเกณฑ์รวมถึงระเบียบต่าง ๆ ของหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของภาคเศรษฐกิจการเงินในอนาคตโดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับยุคเศรษฐกิจดิจิตัลได้เป็นอย่างดี

ด้วยเหตุนี้ ทางคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดให้มีการให้ความรู้ และเปิดโอกาสแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและมีความสนใจในภาคเศรษฐกิจการเงินได้มีโอกาสศึกษาภาพรวมของเศรษฐกิจการเงิน แนวทางปฏิบัติของหน่วยงานต่าง ๆ รวมตลอดถึงกฎหมาย กฎเกณฑ์และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลิตบุคลากรที่เข้ารับการอบรมให้มีความรู้เฉพาะด้าน โดยเน้นทางวิชาชีพควบคู่ไปกับวิชาการ สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สนองความต้องการของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เป็นอยู่ และเป็นการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของผู้อบรม ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป

ผู้เข้าร่วมโครงการ

จำนวนประมาณ 50 คน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อยกระดับบุคลากรในภาคเศรษฐกิจการเงินให้มีความรู้ ความสามารถ ด้านกฎหมายองค์กรธุรกิจ การธนาคาร และการบริการทางการเงิน ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อรองรับนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ และเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานในภาคเศรษฐกิจการเงิน

2. เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมอบรม ระหว่างองค์กรที่ร่วมจัดโครงการอบรม และระหว่างผู้เข้าร่วมอบรมกับหน่วยงานที่ร่วมกันจัดโครงการอบรม อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงานจริงทั้งในระหว่างการอบรมและภายหลังการอบรมเสร็จสิ้นลง.

ระยะเวลาดำเนินการ

ตั้งแต่วันอังคารที่ 11 กันยายน 2561 – วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน 2561

วุฒิบัตรที่ได้รับ

ผู้สำเร็จการอบรมตามหลักสูตรนี้จะได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองว่า “ผ่านการอบรมกฎหมายองค์กรธุรกิจ การธนาคาร และการเงิน” (Advanced Corporate, Banking and Financial Services Law Program) เมื่อเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด และบังคับเข้ากรณี Case Study (ไม่มีการสอบ)

หลักสูตร

ระยะเวลาอบรม: 105 ชั่วโมง

วันเวลาอบรม: วันพุธ เวลา 18.00 – 21.00 น. วันเสาร์ เวลา 9.30 – 17.00 น. 

ยกเว้น พิธีการเปิดการอบรม การดูงานนอกสถานที่ ณ ศูนย์ประสานการบริการด้านการลงทุน (OSOS) ชั้น ๑๘ ตึกจามจุรีแสควร์ และ Case Study

ค่าใช้จ่ายในการอบรม

ค่าลงทะเบียนคนละ 49,900 บาท(สี่หมื่นเก้าพันเก้าร้อยบาทถ้วน) (รวมค่าเอกสารประกอบ ค่าอาหาร และเครื่องดื่ม) 

คณะกรรมการอำนวยการ

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ อธิการบดี ประธานกรรมการ

2. รองศาสตราจารย์ ทองสุก กรัณยพัฒนพงศ์ รองประธานกรรมการ

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิณัฏฐา แสงสุข คณบดีคณะนิติศาสตร์ กรรมการ

4. รองศาสตราจารย์ สุขสมัย สุทธิบดี กรรมการ

5. นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช กรรมการ

6. ศาสตราจารย์พิเศษ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ กรรมการ

7. ดร.สมศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล กรรมการ

8. นายธีระ ทองประกอบ กรรมการ

9. อาจารย์ สิทธิภาคย์ ภูริสินสิทธิ์ กรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการบริหาร

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรนิติ์ เทพสุเมธานนท์ ประธานกรรมการ

2. อาจารย์ สิทธิภาคย์ ภูริสินสิทธิ์ รองประธานกรรมการและผู้อำนวยการ

3. อาจารย์ ดร.สลิล สิรพิทูร กรรมการ

4. อาจารย์ ดร.พรพรหม อินทรัมพรรย์ กรรมการ

5. อาจารย์ ดร.ดนพร จิตต์จรุงเกียรติ กรรมการ

6. อาจารย์ ชนกพร พรหมปิ่นชมพู กรรมการ

7. อาจารย์ พิชญ์ วิทยารัฐ กรรมการ

8. นางสาวฐานะนันต์ สังข์นวล กรรมการ

9. นายจิรานุวัฒน์ ธัญญะเจริญ กรรมการ

10. นางสาวภัณฑิรา สังขวาสี กรรมการและเลขานุการ

11. นายภัทรภณ เลิศพิพัฒน์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

**หมายเหตุ โครงการ ฯ ขอสงวนสิทธิในการไม่เปิดให้มีการเรียนการอบรม หรือปรับเปลี่ยนวัน เวลา รายชื่อวิทยากร รวมทั้งการขยายระยะเวลาการรับสมัครจนกว่าจะมีผู้เข้าอบรมจำนวนไม่ต่ำกว่า 30 คน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save